2. หาสับเซตทั้งหมด ของเซตต่อไปนี้ และ เพาเวอร์เซต P(A)
|
2.1 A = {a,b,c}
|
จำนวน สับเซตทั้งหมดของ A หรือ n( A ) = 2n
เมื่อ n เป็นจำนวนสมาชิก
n ( A ) = 23
ได้ จำนวนสับเซต = 8
ดังนั้น จะได้สับเซตทั้งหมดของ A คือ
1. { a }
2. { b }
3. { c }
4. { a,b }
5. { b,c }
6. { a, c }
7. { a,b,c }
8 . Ø เพราะ เซต ว่าง เป็นสับเซตของทุกเซต ****
เมื่อเราหาสับเซตทั้งหมดได้ เราก็สามารถบอกได้ว่าอะไรเป็น
สับเซต c หรือว่าไม่เป็นสับเซต ¢
1. { a } ⊂ A
2. { b } ⊂ A
3. { c } ⊂ A
4. { a,b } ⊂ A
5. { b,c } ⊂ A
6. { a, c } ⊂ A
7. { a,b,c } ⊂ A
8 . Ø ⊂ A
|
หา เพาเวอร์เซต P(A)
P(A) = {{ a } ,{ b },{ c },{ a,b },{ b,c },{ a,c },{ a,b,c }, Ø }
|
2.2 P(Ø) = {Ø}
|
2.3 P({1}) = {{1}, Ø }
|
2.4 P({0,1}) ={{0},{1},{0,1},Ø}
|
|
ข้อสังเกตุ
เมื่อมีเซทเราหาสมาชิกของเซทได้ก็ หาสับเซท , เพาเวอร์เซทได้
a ∈ A เมื่อ a เป็นสมาชิกของ A
{ a } ⊂ A เอาปีกกาใส่ เป็นเซทของ a คือ {a}
เป็นสับเซท ของ A
{{ a }} ⊂ P(A)
เอาปีกกาใส่ เซท a ด้านซ้าย
ด้านขวาใส่ เพาเวอร์เซท
|
จะนำไปใช้ได้อย่างไร สำหรับความสัมพันธ์ ระหว่าง เซท สับเซท และ เพาเวอร์เซท
|
2.5 กำหนดให้ A = {a,b,c}
จงหาว่า {{{ a,c }}} ⊂ P(A) จริงหรือไม่ ?
|
วิธีทำ เรากำลังหาว่าเซทดังกล่าวเป็น เป็นสับเซทของเพาเวอร์เซท A หรือไม่
จากโจทย์ {{{ a,c }}} ε P(A)
{{{ a,c }}} ⊂ P(A) ซ้ายตัดวงเล็บ / ขวาตัด P()
{{ a,c }} ⊂ A
{{ a,c }} ⊂ A ซ้ายตัดวงเล็บ
เปลี่ยน ⊂ เป็น สมาชิก ∈
{ a,c } ∈ A
เราจะได้ว่า { a,c } ε A ไม่เป็นจริง
เพราะ { a,c } ε A
ดังนั้น จะได้ว่า {{{ a,c }}} ⊂ P(A) ไม่เป็นจริง
|
2.6 กำหนดให้ A = { 0,1,2,3,{1,2},{3}}
จงหาว่า {{{{ 1,2 }}}} ⊂ P(P( P(A))) จริงหรือไม่ ?
|
วิธีทำ เรากำลังหาว่าเซทดังกล่าวเป็น เป็นสับเซทของเพาเวอร์เซท A หรือไม่ ?
จากโจทย์
{{{{{ 1,2 }}}}} ⊂ P(P( P(A)))
ดังนั้น
{{{{{ 1,2 }}}}} ⊂ P(P( P(A))) ซ้ายตัดวงเล็บ / ขวา ตัด P()
{{{{ 1,2 }}}} ⊂ P( P(A)) ซ้ายตัดวงเล็บ / ขวา ตัด P()
{{{ 1,2 }}} ⊂ P(A) ซ้ายตัดวงเล็บ / ขวา ตัด P()
{{ 1,2 }} ⊂ A ซ้ายตัดวงเล็บเปลี่ยนเป็น ∈
{ 1,2 } ∈ A
เมื่อเปลี่ยนจนถึงขั้นนี้เราก็จะได้ว่า { 1,2 } เป็นสมาชิกของ A
ตรวจสอบดู ที่ A แล้ว พบว่า { 1,2 } เป็นสมาชิกของ A เป็นจริง
สรุปได้ว่า
{{{{{ 1,2 }}}}} ⊂ P(P( P(A))) เป็นจริง
|
2.7 ถ้าเซต A มีสมาชิก 3 ตัว จำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซต
ของเพาเวอร์เซต A มีเท่าไร
|
วิธีทำ จากโจทย์ให้หา n(P(P(A))
n(A) = 3 (จำนวนสมาชิกของ A เท่ากับ 3 )
n(P(A)) = 23
= 8
nP((P(A))) = 28
= 256 สมาชิก
|
การดำเนินการของเซต
1. ยูเนียน (Union)
2. อินเตอร์เซกชั่น (Intersection)
3. คอมพลีเม้นท์ (Complement)
4. ผลต่าง (Difference)
1. ยูเนียน (Union)
ยูเนียน ของ A และ B คือเซทที่ประกอบด้วยสมาชิกของ A หรือของ B
เขียนแทนด้วย A U B
A U B ={ x | x ε A หรือ x ∈ B }
เมื่อเขียน แผนภาพของเวนน์ ได้ดังนี้
A U B นำเอามารวมกัน
2. อินเตอร์เซกชั่น (Intersection)
อินเตอร์เซกชั่น ของ A และ B คือเซทที่ประกอบด้วยสมาชิกของ ทั้ง A และ B
เขียนแทนด้วย A B
A ∩ B ={ x | x ε A และ x ∈ B }
เมื่อเขียน แผนภาพของเวนน์ ได้ดังนี้
A ∩ B สมาชิกที่ซ้ำกัน
3. คอมพลีเม้นท์ (Complement)
คอมพลีเม้นต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งเป็นสมาชิกของ
เอกภพสัมพัทธ์ (U) แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A
เขียนแทนด้วย A'
A' = { x| x ε U และ x ∉ A}
เมื่อเขียน แผนภาพของเวนน์ ได้ดังนี้
A' นอกเหนือจาก A
4. ผลต่าง (Difference)
ผลต่าระหว่างเซท A และเซท B คือเซทที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซท A
ซึ่งไม่เป็น สมาชิกของเซท B
A - B = { x ε U | x ε A และ x ∉ B }
เมื่อเขียน แผนภาพของเวนน์ ได้ดังนี้
A - B เลือกที่ A ที่ไม่ซ้ำกับ B
AUB = n(A) + n(B) - n(A∩B)
AUBUC =n(A) + n(B)+ nC) - n(A∩B)- n(B∩C)- n(A∩C) + n(A∩B∩C)
|
3. เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน มาดูแบบฝึกหัดเรื่องเซท ดังนี้
วาดและหาแผนภาพของเวนน์ แรงเงาของรูปต่อไปนี้
กำหนดให้ A ,B เป็นเซทได้เขียน แผนภาพของเวนน์ ได้ดังนี้
หาการดำเนินการของเซต ดังต่อไปนี้
|
3.1 (A ∩ B) '
|
3.2 A' ∩ B'
3.3 ( A U B )'
3.4 ( A' ) '
3.5 ( A ∩ A' )
3.6 ( A ∩ B ) U ( B - A )
3.7 (A - B ) U (B - A ) U ( A ∩ B )
3.8 B' - A
3.9 (B')' ∩ A '
|
|
3.10 U - ( A' U B')
3.11 ø - A
3.12 A ∩ - A
3.13 A U - A
3.14 - (A U B)
3.15 A U ( A ∩ B)
3.16 A ∩ ( A U B)
กำหนดให้ A ,B , C เป็นเซท ดังรูป
วาดและหาภาพ แรงเงาของรูปต่อไปนี้
3.17. A' ∩ B' ∩ C
3.18 A ∩ B ∩ C'
3.19 (A ∩ B ∩ C)'
3.20 (A ∩ B ∩ C)
3.22 (A ∩ B ∩ C') ∩ (A ∩ B' ∩ C) ∩ (A' ∩ B ∩ C )
3.23 (A ∩ B' ∩ C') U (A' ∩ B ∩ C') U (A' ∩ B' ∩ C )
3.24 U
3.25 (A ∩ B ∩ C)' ∩ (A U B U C)
3.26 A U B U C
3.27 (A ∩ B ∩ C ) U C - B
3.28 (A ∩ B ∩ C ) U ( B ∩ C ' )
3.29 ( A ∩ B ) U (B - (C ∩ A ) )
|
|
3.30 ( A - B ) U ( B- C )
3.31 [( A - B) - C ] U (B ∩ C )
3.32 ( A - B ) ∩ ( C - B )
3.33 ( A U C ) ' ∩ B จาก GERAK GEMPUR 2010 SET-3
|
อ้างอิง ข้อ 3.17 - 3.25 จาก คณิตศาสตร์เบื้องต้น หมวดวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ISBN 947-8292-34-7
|
เมื่อทดลองหัดฝึกฝนด้วยตนเองแล้วน่าจะทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นครับ
|
ชอบแล้ว เป็นกำลังใจให้เรา อย่าลืมกดปุ่ม ถูกใจ บน Facebook |